หน้าแรกบริการข่าวสารบทความบุคลากรเกี่ยวกับเรา
การบังคับคดีเเพ่งของไทยเเละเเนวโน้มในประชาคมอาเซียน
โพสต์เมื่อ: 17/12/2558 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 17/12/2558
การบังคับคดีเเพ่งของไทยเเละเเนวโน้มในประชาคมอาเซียน

การบังคับคดีเเพ่งของไทยเเละเเนวโน้มในประชาคมอาเซียน

นางสาวปฐมน เเป้นเหลือ

ทราบหรือไม่? ปัจจุบันกรมบังคับคดีมีทรัพย์สินที่อยู่ในกระบวนการขายทอดตลาดเฉพาะคดีแพ่ง มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท และทรัพย์สินบางอย่างอยู่ในกระบวนการนี้มานานกว่า 10 ปีโดยสาเหตุที่ทรัพย์สิน เหล่านี้ยังคงค้างอยู่ในระบบอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาด าเนินการขายทอดตลาด ความน่าสนใจ ของทรัพย์สินที่ขาย ค่าใช้จ่ายและความเหมาะสมของราคาประเมิน และการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ปัญหานี้ ส่งผลกระทบทั้งต่อเจ้าหนี้ที่รอรับการชำระหนี้เป็นเวลานาน ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวม ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา ทั้งยังได้พัฒนากระบวนการบังคับคดีอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นได้ชัด คือ การแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ดังเช่น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ท าให้ผู้ซื้อคอนโดและบ้านจัดสรรจากการขายทอดตลาดในชั้นบังคับคดีไม่ต้อง รับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของเจ้าของเดิม สร้างแรงจูงใจที่จะท าให้ทรัพย์สินประเภทคอนโดและบ้านจัดสรร ขายออกมากยิ่งขึ้น หากดูในบริบทของประเทศในอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวทางปฏิบัติและปัญหาอุปสรรค เกี่ยวกับการบังคับคดีในแต่ละประเทศ ประเด็นหลักเป็นเรื่องการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้และ การส่งเสริมกลไกการระงับข้อพิพาททางเลือก หลายประเทศได้มีการน ามาใช้แล้วและไทยอาจน ามาเป็นต้นแบบได้ เช่น ประเทศสิงคโปร์(ได้รับการจัดอันดับความยาก – ง่ายในการประกอบธุรกิจจากธนาคารโลกในปี 2015 อยู่ใน ลำดับที่ 1 ทั้งในภาพรวมและด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง) และประเทศมาเลเซีย (ลำดับที่18) ใช้ระบบ e-Filing ที่คู่ความสามารถฟ้องคดีทางอิเล็กทรอนิกส์และฟ้องเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องฟ้องภายในเวลาราชการ มีบริการแจ้งนัดพิจารณาคดีทาง sms ทำให้ประหยัดต้นทุนและพื้นที่จัดเก็บเอกสาร สามารถขจัดปัญหาข้อมูล สูญหายหรือถูกทำลาย และทำให้การพิจารณาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีใต้(ลำดับที่ 5 ในภาพรวม, ลำดับที่ 4 ในการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง) ก็มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพื่อลดขั้นตอนการบังคับคดี การใช้ mobile application และการใช้ระบบการแก้ไขความขัดแย้งผ่าน e-Court หรือประเทศจีน ซึ่งศาลสูงสุดมีบทบาทเชิงรุกในการนำเทคโนโลยีมาสืบหาทรัพย์สิน ติดตั้งระบบเครือข่ายที่สามารถค้นหาและควบคุมทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้ทั่วประเทศจีน และในอนาคตประชาคมอาเซียนยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการบังคับคดีในระดับภูมิภาค การบังคับ คดีข้ามพรมแดน โดยยึดแนวทางของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) ดังเช่นสหภาพยุโรป นำมาใช้อย่างได้ผลมาแล้วด้วย ในปี 2015 นี้ไทยได้รับการจัดอันดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ลำดับที่ 26 ในภาพรวม และอันดับที่ 25 ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง คงต้องรอติดตามกันต่อไปว่าการ พัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่งของไทยจะทำให้ในปีหน้าไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญ หากทรัพย์สินกว่า 2 แสนล้านบาท สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจได้ คงจะส่งผลดีไม่น้อยต่อทั้งธุรกิจ ภายในประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศ 


ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=9509

03/03/2566 -
เงินมัดจำ สำคัญเพียงใด ?
09/04/2561 -
เมื่อคดีจากศาลไปสู่สภา
07/04/2561 -
ขึ้นศาลด้วย BOQ by ทค.สิรภพ โชติยาธนากูล
12/03/2561 -
เรื่องเล่าจากศาล ตอน "กับดักทางความคิด"
05/03/2561 -
เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่าย !
05/03/2561 -
การเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
05/03/2561 -
ความรู้ก่อนขึ้นศาล ในคดีหมิ่นประมาท
ตร.รวบ 2 หนุ่มไทย ขับเก๋งลอบขนใบกระท่อม 30 กิโล คาจุดตรวจพัทลุง
10/05/2559
ปปง. แถลงเตรียมใช้ระบบตรวจจับฟอกเงินที่ผิดก.ม.
18/01/2559
ภาษีมรดก เริ่ม 1 ก.พ.นี้ รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี
15/01/2559