บทสันนิษฐานความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้เเทนนิติบุคคลกับเเนวความคิดของกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบัน
นางสาวศศิวิมล ถาวรพงส์สถิตย์
จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2555 เกี่ยวกับเรื่องบทสันนิษฐานความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล ในพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 นั้น มาตรา 54 ของกฎหมาย ดังกล่าวได้บัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการ ผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตำมที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น” ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานตามกฎหมายความผิดของจำเลย โดยโจทก์ไม่ต้อง พิสูจน์ให้เห็นถึงการกระทำหรือเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งของจำเลยก่อน กรณีจึงเป็นการสันนิษฐานไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นได้กระทำความผิดด้วย อันมีผล เป็นการผลักภาระการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ไปยังกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ และบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน ของนิติบุคคลนั้นทั้งหมดทุกคน จึงขัดหรือแย้งบทบัญญัติมาตรา 39 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐำนไว้ก่อนว่าผู้ต้องหำหรือจำเลยไม่มีความผิด” ปัจจุบันยังมีกฎหมายระดับพระราชบัญญติที่ใช้บังคับอยู่ในหลายๆ ฉบับ มีลักษณะบทบัญญัติในทำนอง เดียวกับมาตรา 54 ของพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เช่น มาตรา 28/4 พระราชบัญญัติสถาน บริการ พ.ศ. 2509 , มาตรา 71 พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 , มาตรา 27 พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้ส่งผลให้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. …. (ร่างพระราชบัญญัติฯ) เพื่อเป็นกฎหมาย กลางในการแก้ไขเรื่องบทสันนิษฐานความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคล เพื่อมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา ของคณะกรรมการกฤษฎีกา อย่างไรก็ดี แม้ร่างพระราชบัญญัติฯ จะยังมิได้มีผลบังคับใช้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบัน ที่ผ่านมากฎหมายระดับพระราชบัญญัติทุกฉบับที่ประกาศใช้ใน ราชกิจจจานุเบกษาที่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น จะพบว่าได้มีการรับเอาแนวคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นแนวทางในการเขียนเรื่องบทสันนิษฐานความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทน นิติบุคคลเพื่อมิให้ขัดต่อมาตรา 39 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว เช่น มาตรา ๔๔ ของพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทำการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ ของกรรมการผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าวต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับ ความผิดนั้น ๆ ด้วย” หรือในกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับที่มีลักษณะบทบัญญัติในทำนองเดียวกันกับมาตรา ๔๔ ของพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘ อาทิ มาตรา 98 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 , มาตรา 76 พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 , มาตรา 30 พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 , มาตรา 69 พระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ. 2558 เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=9615