หน้าแรกบริการข่าวสารบทความบุคลากรเกี่ยวกับเรา
กองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs เพื่อโอกาสของ SME
โพสต์เมื่อ: 14/01/2559 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 14/01/2559
กองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs เพื่อโอกาสของ SME

กองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs เพื่อโอกาสของ SME

                                                                                      นางเขมฤทัย สุมาวงศ์

                                                                ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายเศรษฐกิจการเงิน

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีเช่นปัจจุบัน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตเสริมสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว และสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะผู้ประกอบ ธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเปรียบเสมือนตัวจักรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาชีพ การสร้างรายได้ให้กับประชาชนรวมไปถึงการส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศโดยหลายประเทศ ได้มีนโยบายที่จะสนับสนุน SMEs ไม่ว่าจะเป็นด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านทรัพยากร ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงด้านการจัดการความเสี่ยง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อไปได้ แนวทางหนึ่งในการในการส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจ SMEs คือ การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (SMEs Private Equity Trust Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่สนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนให้แก่ SMEs โดยกองทุนนี้จะร่วมลงทุน (Equity Financing) ในกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูง มีนวัตกรรมในการสร้างและพัฒนาธุรกิจให้เติบโต อย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเป็นกองทุนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ขนาดของกองทุน 10,000 ถึง 25,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการร่วมลงทุนจากภาครัฐร้อยละ 10 – 25 หรือประมาณ 1,000 ถึง 2,500 ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และ SME Bank ในฐานะภาครัฐร่วมทุน ธนาคารละ 2 พันล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 6 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยเข้าร่วมลงทุน โดยการร่วมทุนจะแบ่งเป็นกองทุนย่อยและเรียกระดมทุนครั้งละไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อกองทุนย่อย และกองทุน ย่อยนั้นจะมีนโยบายการลงทุนตามประเภท หรือกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพในการเติบโตทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เป็นหลัก เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ให้มี ความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ กองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs เป็นการจัดตั้งทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยการจัดตั้งกองทรัสต์จะมีการแต่งตั้งทรัสตีผู้ดูแลกองทรัสต์ ซึ่งทรัสตีจะเป็นผู้ยื่นคำขอก่อตั้งทรัสต์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งทรัสตีจะต้องจัดการกองทรัสต์ด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง ไม่ให้ดำเนินการที่จะเป็นการขัดหรือแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์ และเมื่อได้มีการ จัดตั้งทรัสต์แล้ว ก็จะมีการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมกองทุนนำเงินที่ระดมทุนได้ไปช่วยเหลือ SME ระยะเริ่มต้นที่มี ศักยภาพ SME ขนาดเล็กที่เป็นกิจการที่ยังขาดแคลนในประเทศไทย และ SME ขนาดกลางที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนในรูปแบบของทรัสต์ดังกล่าวจะเป็นช่องทางในการระดมทุนทางหนึ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้มีบทบัญญัติให้ความ คุ้มครองผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ทรัสต์ล้มละลาย จะไม่สามารถนำทรัพย์สินในกองทรัสต์นั้นมารวมในคดีล้มละลายด้วย หรือในกรณีที่ทรัสต์บริหารกองทรัสต์ไม่เป็นไปตามสัญญาผู้รับประโยชน์ก็มีสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือติดตาม เอาทรัพย์สินคืนได้ ทรัพย์สินในกองทรัสต์จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จึงทำให้กองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs มีความปลอดภัยในการลงทุน นอกจากนี้ผู้ร่วมลงทุนยังจะได้รับประโยชน์จากเงินปันผลและสิทธิประโยชน์ ทางภาษีอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=10134

03/03/2566 -
เงินมัดจำ สำคัญเพียงใด ?
09/04/2561 -
เมื่อคดีจากศาลไปสู่สภา
07/04/2561 -
ขึ้นศาลด้วย BOQ by ทค.สิรภพ โชติยาธนากูล
12/03/2561 -
เรื่องเล่าจากศาล ตอน "กับดักทางความคิด"
05/03/2561 -
เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่าย !
05/03/2561 -
การเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
05/03/2561 -
ความรู้ก่อนขึ้นศาล ในคดีหมิ่นประมาท
ตร.รวบ 2 หนุ่มไทย ขับเก๋งลอบขนใบกระท่อม 30 กิโล คาจุดตรวจพัทลุง
10/05/2559
ปปง. แถลงเตรียมใช้ระบบตรวจจับฟอกเงินที่ผิดก.ม.
18/01/2559
ภาษีมรดก เริ่ม 1 ก.พ.นี้ รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี
15/01/2559