หน้าแรกบริการข่าวสารบทความบุคลากรเกี่ยวกับเรา
ความรู้ก่อนขึ้นศาล ในคดีหมิ่นประมาท
โพสต์เมื่อ: 05/03/2561 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 05/03/2561
ความรู้ก่อนขึ้นศาล ในคดีหมิ่นประมาท

 ในคดีหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ หรือทางอินเตอร์เน็ตนั้น ไม่ว่าเราจะฟ้องตาม ม.326 หมิ่นประมาท หรือ ม. 328  หมิ่นประมาทโดยการโฆษณานั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า เราต้องฟ้องทั้งแหล่งข่าว หรือต้นตอของข่าว ผู้นำข่าวออกเผยแพร่ หรือผู้กลั่นกรองข่าวก่อนนำข่าวออกสู่สาธารณชน รวมถึงผู้นำข่าวดังกล่าวกระจายออกไปทางอินเตอร์เน็ต การดำเนินการฟ้องก็ต้องฟ้องจำเลยทุกคน

                     ลูกความบางท่าน ได้ค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตแล้วนำข้อมูลบางอย่างไปปฏิบัติจริง โดยคิดว่าการฟ้องคดีหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์และบนอินเตอร์เน็ต  สามารถทำได้ทั่วประเทศ เพราะสื่อดังกล่าวได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ การฟ้องร้องดำเนินคดีจึงทำได้ทุกจังหวัด  โดยหลักการแล้วก็สามารถทำได้ แต่ถ้าฟ้องดำเนินคดีจริงจะเป็นอย่างไร ?  การฟ้องในต่างจังหวัดทั้ง 2 แห่งพร้อมกัน ในคดีเดียวกันนั้น  โดยมีโจทก์และจำเลยคนเดียวกันนั้น  โจทก์ก็ต้องเลือกคดีเพียงคดีเดียว ที่อยู่ในศาลจังหวัดเดียว โดยหากทั้ง 2 คดี อยู่คนละศาลแล้ว คดีที่เราฟ้องภายหลัง ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน หรือหากคดีแรกมีคำพิพากษาแล้ว คดีหลังก็เป็นฟ้องซ้ำ

                      ซึ่งอย่างไรก็ตาม  ก็จะเหลือเพียงคดีเดียวในศาล ที่โจทก์และจำเลยต้องมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณากัน กลับมาเรื่องของการฟ้องจำเลยในคดีหมิ่นประมาทในศาลนั้น ทนายบางท่านให้ข้อแนะนำแก่ลูกความว่า ควรจะฟ้องแค่คนให้ข่าว ส่วนหนังสือพิมพ์ และบรรณาธิการข่าวไม่ควรฟ้อง เพราะมีกฎหมายยกเว้นความผิด หรือไม่อยากมีข้อขัดแย้งกับทางหนังสือพิมพ์ หรือผู้กระจายข่าว หรือกลัวโดนฟ้องกลับด้วยเหตุผลต่างๆนานา  ซึ่งหากผู้ฟ้องเห็นตามข้อแนะนำดังกล่าวแล้ว  ผู้เขียนเห็นควรว่า ท่านอย่าฟ้องไปเลยครับ เพราะท่านจะเสียค่าทนายโดยเปล่าประโยชน์ เพราะหากมิได้ฟ้องสำนักพิมพ์ หรือบรรณาธิการข่าวแล้ว ผู้ถูกฟ้องนั่นก็คือผู้ให้ข่าว หรือต้นตอของข่าว ก็สามารถให้การในชั้นศาลได้ว่า ตนเองไม่ได้ให้ข่าว หรือเต้าข่าวดังกล่าวขึ้น  โดยเป็นทางหนังสือพิมพ์ต่างหากที่เขียนข่าว หรือเต้าข่าวขึ้นมาเพื่อให้ข่าวน่าสนใจแก่ผู้อ่านข่าว

                        การฟ้องคดีในศาล ซึ่งผู้ถูกฟ้องทุกคนที่ถูกฟ้องในฐานะจำเลยนั้น ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข่าว สำนักพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ หรือแม้กระทั่งบรรณาธิการข่าว หรือผู้นำข่าวออกเผยแพร่ต่อไปอีกนั้น เป็นหารที่ฟ้องเพื่อให้จำเลยทุกคน ได้เข้ามาสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงทั้งหมดในการสืบพยานแต่ละปาก เพื่อให้ทราบได้ว่าใครเป็นผู้ให้ข่าว ใครเป็นผู้เต้าข่าว และใครเป็นผู้นำข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวออกเผยแพร่ให้แก่สาธารณชน ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องเสียหาย  ซึ่งจะเป็นการหาผู้ที่กระทำผิดได้ถูกตัว และหากผู้ถูกฟ้องท่านอื่นที่ได้กระทำไปโดยความไม่รู้ในข้อเท็จจริงอันนั้นแล้ว  ในการพิจารณาของศาลก็จะมีคำตัดสิน หรือคำพิพากษาที่มีความยุติธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นปรากฏออกมาเอง

                       ที่สำคัญคือเราต้องมองตามความเป็นจริง   และมองที่วิธีการพิจารณาคดีของศาลเป็นสำคัญ  จึงจะเป็นหนทางที่จะทำให้ชนะในการดำเนินคดีหมิ่นประมาท

                                                             ทค.สิรภพ โชติยาธนากูล

03/03/2566 -
เงินมัดจำ สำคัญเพียงใด ?
09/04/2561 -
เมื่อคดีจากศาลไปสู่สภา
07/04/2561 -
ขึ้นศาลด้วย BOQ by ทค.สิรภพ โชติยาธนากูล
12/03/2561 -
เรื่องเล่าจากศาล ตอน "กับดักทางความคิด"
05/03/2561 -
เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่าย !
05/03/2561 -
การเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
06/07/2559 -
Reversed Mortgage ทางเลือกของผู้สูงอาย
ตร.รวบ 2 หนุ่มไทย ขับเก๋งลอบขนใบกระท่อม 30 กิโล คาจุดตรวจพัทลุง
10/05/2559
ปปง. แถลงเตรียมใช้ระบบตรวจจับฟอกเงินที่ผิดก.ม.
18/01/2559
ภาษีมรดก เริ่ม 1 ก.พ.นี้ รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี
15/01/2559