หน้าแรกบริการข่าวสารบทความบุคลากรเกี่ยวกับเรา
เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่าย !
โพสต์เมื่อ: 05/03/2561 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 05/03/2561
เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่าย  !

 ใครคือผู้สร้างสรรค์งาน ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ม.4 ได้ให้บทนิยาม "ผู้สร้างสรรค์ " ไว้ว่า ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเอง ซึ่งมีความหมายว่า การที่จะเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น ความสำคัญมิได้อยู่ที่ว่า งานที่อ้างว่าได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นงานใหม่หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าบุคคลผู้นั้นได้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ และงานดังกล่าวมีที่มาหรือต้นกำเนิดจากบุคคลนั้น โดยบุคคลนั้นมิได้คัดลอกหรือทำซ้ำ หรือดัดแปลงมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์อื่น

         1งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยในการสร้างสรรค์โลโกของผู้สร้างสรรค์นั้น ถือเป็น "ศิลปกรรม" ตาม ม.4 วรรค 1 ซึ่งเป็นงานออกแบบภาพถ่ายรวมถึง (6) ซึ่งเป็นงานศิลป์ประยุกต์ที่มีการนำ(1)-(6)มารวมกันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกจากการชื่นชมในคุณค่าในตัวงาน

         2สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ตาม ม.15 นั้น เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้ผู้สร้างสรรค์งาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของค่าแห่งลิขสิทธิ์(สิทธิในทางเศรษฐกิจ) เจ้าของของลิทสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการ

         (1)ทำซ้ำหรือดัดแปลง

         (2)เผยแพร่ต่อสาธารณชน

         (3)ให้เช่าต้นฉบับ/สำเนางาน

         (4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่บุคคลอื่น

         (5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) และ(3)

          และผู้สร้างสรรค์งาน ยังมีสิทธิในธรรมสิทธิ์ ตามม.18 โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์งานเป็นสิทธิในทางศีลธรรมที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค์โดยเฉพาะ มิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้รับโอนสิทธิ ซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์งาน โดยกฎหมายได้ให้ความคุ้มครองไว้ดังนี้

          1.ให้สิทธิแก่ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว

          2.ผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะห้ามบุคคลอื่นมิให้บิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทำโดยประการอื่นแก่งานอันมีลิขสิทธิจนเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์

          3.ทายาทของผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิในธรรมสิทธิ์ได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มิใช่สิทธิ์เฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์

          3.การละเมิดลิขสิทธิ์  ตาม ม.27 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงต่องานอันมีลิขสิทธิ์ เช่นงานวรรณกรรม ,งานศิลปกรรม ,งานดนตรีกรรม หรือแผนกศิลปะอันมีลิขสิทธิ์ โดยมิได้รับอนุญาตตาม ม.15(5) โดยการกระทำนั้นได้

          (1) ทำซ้ำดัดแปลง

          (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

         4.ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม ม.32 ต้องเป็นการใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่เป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการกระทบกระเทือนสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ตามที่บัญญัติไว้ดังนี้ คือ

         (1) วิจัยหรือศึกาางานอันมิใช่เพื่อหากำไร

         (2) เพื่อประโยชน์ของตนเอง,บุคคลอื่นในครอบครัว,ญาติสนิท

         (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำงานโดยรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ

         (5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีของศาล และเจ้าพนักงาน

         (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนอันมิใช่ เพื่อหากำไร

         (7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน ตัดทอน ทำบทสรุปโดยผู้สอน สถาบันการศึกษา เพื่อแจกจ่าย จำหน่ายแก่ผู้เรียน ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

         5.ความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีดังนี้

        1. ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน หากเป็นไปตาม ม. 27 มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือตาม ม. 69 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และตามม.77 ถ้ากระทำนั้นเป็นไปเพื่อการค้า ให้จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง800,000 บาท

        2.ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่ภาพ แพร่เสียงด้วยการ

           2.1 จัดทำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมด บางส่วน

           2.2 แพร่เสียง แพร่ภาพซ้ำ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน

           2.3 จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียง แพร่ภาพ โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้าผิดตาม ม.29 ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท ม. 69 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และ ม. 77 ถ้ากระทำนั้นเป็นไปเพื่อการค้า ให้จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท

         3. ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยการ

            3.1 ทำซ้ำหรือดัดแปลง และ 3.2 เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานมีความผิดตามม. 30 มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท ม. 69 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และตามม. 77 ถ้ากระทำนั้นเป็นไปเพื่อการค้า ให้จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท

         4.ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อหากำไรด้วยการ

            4.1 ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

            4.2 เผยแพร่ต่อสาธารณชนแจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

            4.3 นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ผิดตาม ม. 31

         ความผิดนี้มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท และตาม ม. 77ถ้ากระทำนั้นเป็นไปเพื่อการค้า ให้จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท 

                                                ทค.สิรภพ  โชติยาธนากูล

03/03/2566 -
เงินมัดจำ สำคัญเพียงใด ?
09/04/2561 -
เมื่อคดีจากศาลไปสู่สภา
07/04/2561 -
ขึ้นศาลด้วย BOQ by ทค.สิรภพ โชติยาธนากูล
12/03/2561 -
เรื่องเล่าจากศาล ตอน "กับดักทางความคิด"
05/03/2561 -
การเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
05/03/2561 -
ความรู้ก่อนขึ้นศาล ในคดีหมิ่นประมาท
06/07/2559 -
Reversed Mortgage ทางเลือกของผู้สูงอาย
ตร.รวบ 2 หนุ่มไทย ขับเก๋งลอบขนใบกระท่อม 30 กิโล คาจุดตรวจพัทลุง
10/05/2559
ปปง. แถลงเตรียมใช้ระบบตรวจจับฟอกเงินที่ผิดก.ม.
18/01/2559
ภาษีมรดก เริ่ม 1 ก.พ.นี้ รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี
15/01/2559