ปปง.แถลงเตรียมใช้ระบบตรวจจับฟอกเงินที่ผิดกฎหมาย มั่นใจ ระบบพัฒนายกเครื่องใหม่ มูลค่า 120 ล้านบาท มีคุณภาพระดับโลก
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 15 ม.ค. ที่สำนักงานป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.พร้อมนายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ SAS แถลงข่าวนำระบบตรวจจับการฟอกเงินและธุรกรรมทางการเงิน ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มอาชญากรรม หรือผู้กระทำผิด มีพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่หลีกเลี่ยงพัฒนาไม่ให้มีเจ้าหน้าที่รัฐทั่วโลก ตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ยากมากขึ้น ปปง.จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แซส นำโปรแกรมการจับ หรือ ที่เรียกว่า "SAS" มาใช้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนั้น มีประสิทธิภาพเหมือนตาข่ายในการกรอง ดักจับ ข้อมูล หรือ การทำธุรกรรมทางการเงินทีมีขนาดใหญ่มากขึ้น หลัก 1,000-10,0000 ล้านบาท เนื่อจากในการใช้เจ้าหน้าที่เข้ามาวิเคราะห์และจดบันทึกข้อมูลทางการเงิน แต่ละบัญชีต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ แต่การนำโปรแกรม SAS มาใช้ช่วยประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้น พร้อมมีระบบแจ้งเตือนกรณีตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินแปลกๆ ที่เข้าข่ายการฟอกเงินหรือการทำธุรกรรมทางการเงินของกลุ่มอาชญากรรมทันที เจ้าหน้าที่จะได้มีการดำเนินการตรวจสอบบัญชีดังกล่าวอย่างละเอียดก่อนดำเนินการอายัดเงินในบัญชีดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรม SAS นั้น ยังสามารถวิเคราะห์รูปแบบธุรกรรมทางการเงินแบบใหม่ ที่คาดว่า จะกลุ่มอาชญากรรมนำมาใช้เลี่ยงหรือตบตา ปปง. หากพบจะมีการแจ้งเตือนทันที
"ปปง.จะนำข้อมูล 1.รูปแบบ 2.พฤติกรรม ในการทำธุรกรรมทางการเงินคดีที่ผ่านมา และลักษณะความเคลื่อนไหวแบบแปลกๆ ของบัญชีทีมีแนวโน้วว่า จะเป็นบัญชีกลุ่มอาชญากรรมใส่เข้าไปในโปรแกรม SAS นั้น หลังจากนั้น SAS จะทำการตรวจ และวิเคราะห์ เมื่อเจอจะแจ้งเตือนทันที ปกติ ปปง.จะได้รับข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินจากสถาบันการเงิน ประมาณ 150,000 บัญชีต่อเดือน หรือ 500-1,000 ล้านบัญชีต่อปี หากสถาบันการเงินร่วมมือกับ ปปง. มีการแชร์ข้อมูลการทำธุระกรรมที่แปลกๆเข้าข่ายกลุ่มอาชญากรรม ปปง.ยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย ปปง.มั่นใจว่า มีความก้าวหน้าในระบบการตรวจจับธุรกรรมทางการเงิน ล้ำหน้าสถาบันการเงินในประเทศไทยแล้ว การที่ ปปง.นำโปรแกรม SAS มาใช้ ก็จะนำไปแชร์กับหน่วยอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย ทั้งนี้ ปปง.ไม่ได้ปรับปรุงระบบและหน่วยงานมา 17 ปี ปีนี้เลยถือเป็นวาระที่ดีที่มีการปรับปรุงต้องขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับ ปปง.ให้งบ 120 ล้านบาท มาปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและระบบต่างๆให้ทันสมียและดีขึ้น เพราะจะได้มีศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญกรรมต่างๆ ได้ดีมากขึ้น" พ.ต.อ.สีหนาท กล่าว
นายทวีศักดิ์ เผยว่า โปรแกรม SAS นั้นถูกพัฒนาโดยบริษัทแม่ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งมา 40 ปีแล้ว มีเครือข่ายกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และตั้งในประเทศไทย 15 ปี มีส่วนแบ่งการตลาด 35% มั่นใจว่า บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ฯ นั้นเป็นเบอร์ 1 เรื่องโปรแกรมตรวจสอบ ดักจับ และวิเคราะห์ ธุรกรรมทางการเงินที่ดีที่สุด ประเทศไทย นอกจาก ปปง.จะนำโปรแกรม SAS ใช้ ยังมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ กับธนาคารรัฐ 1 ธนาคาร และธนาคารเอกชน 1 ธนาคาร ใช้โปรแกรมดังกล่าวด้วย ปัจจุบันเป็นโลกยุคเทคโนโลยี มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตระดับ 4G ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านการโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น โปรแกรม SAS สามารถตรวจสอบ วิเคราะห์การทำธุรกรรมทางการเงินที่เข้าข่ายอาชญากรรมได้รวดเร็วมากขึ้นตามกระแสโลกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : https://www.thairath.co.th/content/563212