ทำความรู้จักกับ " ศาลชำนัญพิเศษ "
นายมนตรี ชุณหชัย
“ศาลชำนัญพิเศษ” เป็นศาลชั้นต้นประเภทหนึ่งในระบบศาลยุติธรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลนั้น ๆ เหตุผลสำคัญของการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษขึ้นเพราะคดีบางประเภทต้องอาศัยความรู้และ ความชำนาญเฉพาะเรื่องแตกต่างจากคดีแพ่งและคดีอาญาทั่วไป ซึ่งควรได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มี ความรู้และความชำนาญในคดีเฉพาะเรื่องนั้น ๆ หรือมีบุคคลซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาอาชีพแต่มีความรู้และ ความเข้าใจในคดีเฉพาะเรื่อง มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้าร่วม เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีด้วย โดยมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาของศาลเป็นของ ตนเองโดยเฉพาะแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นธรรมดาเพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ปัจจุบัน ศาลชำนัญพิเศษมีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่
1. ศาลเยาวชนและครอบครัว เดิมเรียกว่า “ศาลคดีเด็กและเยาวชน” เป็นศาลชำนัญพิเศษศาลแรก ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศาลเยาวชน และครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 (ต่อมาถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553) มีอ านาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี) หรือเยาวชน (อายุเกิน 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี) เช่น คดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา เป็นต้น ส่วนองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 2 คน และผู้พิพากษาสมทบอีก 2 คน ซึ่ง อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี
2. ศาลแรงงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง เป็นต้น ส่วนองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและ ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละอย่างน้อย 1 คน รวมกันแล้วอย่างน้อย 3 คน
3. ศาลภาษีอากร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ เจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น ส่วนองค์คณะผู้พิพากษา ประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
4. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2539 มีอ านาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร เป็นต้น ส่วนองค์คณะผู้พิพากษา ประกอบด้วยผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 2 คน และผู้พิพากษาสมทบอีก 1 คน
5. ศาลล้มละลาย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มีอ านาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย รวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับ คดีดังกล่าวด้วย ส่วนองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน บทความกฎหมายน่ารู้
สำหรับการอุทธรณ์และฎีกาในคดีชำนัญพิเศษนั้น แต่เดิม เมื่อศาลชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แล้ว คู่ความที่ไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยไม่จำเป็นต้องผ่านศาลอุทธรณ์เสียก่อนเพื่อให้คดี ได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในศาลฎีกาจะแบ่งออกเป็นแผนกตามความเชี่ยวชาญเฉพาะคดี เช่น แผนก คดีภาษีอากร แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีล้มละลาย เป็นต้น เว้นแต่คดีเยาวชนและครอบครัวที่จ าต้องอุทธรณ์ ไปยังศาลอุทธรณ์ก่อน ซึ่งเป็นไปตามลำดับชั้นศาล โดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกาเป็นที่สุด อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. 2558 โดยมีการจัดตั้ง “ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ” ให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาล ชำนัญพิเศษทั้ง 5 ประเภท และมีการแบ่งส่วนภายในเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ แผนกคดีภาษีอากร แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีล้มละลาย และแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัว อีกทั้งมีการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการอุทธรณ์และฎีกาในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ฉบับต่าง ๆ 1 ดังนั้น หากศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเปิดทำการในอนาคต คู่ความที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชำนัญพิเศษก็ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เว้นแต่จะมีกฎหมายห้ามมิให้ อุทธรณ์ ซึ่งหากเป็นคดีแพ่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษย่อมเป็นที่สุด โดยคู่ความจะ ฎีกาได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาเท่านั้น มีข้อสังเกตว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการอุทธรณ์และฎีกาดังกล่าวท าให้เหตุผลของการมี ศาลชำนัญพิเศษมิใช่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าคดีแพ่งทั่วไปแล้ว แต่เป็นการทำให้ หลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกาในคดีแพ่งทั่วไปและคดีชำนัญพิเศษเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งระบบ สำหรับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษสำหรับคดีประเภทอื่นนั้น สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในอดีต ได้มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้ง “ศาลสิ่งแวดล้อม” ในรูปแบบของศาลชำนัญพิเศษใน ศาลยุติธรรมและจัดทำร่างกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะ โดยให้มีอำนาจพิจารณา พิพากษาทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง เนื่องจากเห็นว่าปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ทวีความรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ดี ก็มีบางฝ่ายเห็นว่าคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อมควรจะอยู่ในอำนาจของ ศาลปกครองมากกว่าที่จะเป็นศาลยุติธรรม นอกจากนั้น ยังมีผู้เสนอให้มีการจัดตั้ง “ศาลคดีการแพทย์” เพื่อพิจารณาคดีทางการแพทย์โดยเฉพาะ อันเนื่องมาจากการฟ้องร้องระหว่างคนไข้และแพทย์ที่มีมากยิ่งขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ก็ต้องติดตามต่อไปว่าในอนาคตจะมีศาลชำนัญพิเศษใหม่ ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ดี การจัดตั้ง ศาลชำนัญพิเศษขึ้นใหม่เป็นเพียงกระบวนการหนึ่งเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ควรคำนึงถึง เช่น ตัวบท กฎหมายสารบัญญัติ การบังคับใช้กฎหมายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มิฉะนั้นผลสำเร็จก็คงมิได้เป็นไปโดยง่ายนัก
1 - พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 บทความกฎหมายน่ารู้ บทความกฎหมายน่ารู้
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=10007