หน้าแรกบริการข่าวสารบทความบุคลากรเกี่ยวกับเรา
กฎหมายการดูแลหนังของไทย
โพสต์เมื่อ: 04/12/2558 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 04/12/2558
กฎหมายการดูแลหนังของไทย

         เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คอลัมน์นี้ได้ พูดถึง คณะกรรมการต่างๆ ที่มีอยู่ใน "กฎหมายหนังฉบับใหม่" ที่เรากำลังใช้กันอยู่ในขณะนี้ไปแล้ว สัปดาห์นี้เรา ก็จะพูดกันต่อ.....ถึง เรื่องของ "การกำกับดูแลหนังโดยรัฐ" ที่กฎหมาย หนังฉบับนี้บัญญัติเอาไว้ ว่า มีอะไรบ้าง? และมีอยู่มากน้อยแค่ไหน? หรือเพียงใด?.....เหมือนดังที่ "กาน แอนด์ โก" กล่าวมาแล้วว่า เรื่องของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหนัง ที่มีอยู่ในสังคมไทยในยุคนี้ เราควรต้อง เข้าใจให้ครบด้าน ว่ามีทั้ง เรื่องของหนังไทยในประเทศ และ เรื่องของ หนังต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำใน ประเทศไทย .....กิจกรรมสองประการนี้ คือ "รูปธรรมหลัก" ที่กฎหมายฉบับนี้ เกี่ยวข้องอยู่.....เริ่มตั้งแต่ เรื่องของ หนังไทยในประเทศ กฎหมายหนังฉบับปี ๒๕๕๑ ไม่ได้มีข้อกำหนด กฎเกณฑ์อะไรเลย จึงตีความได้ว่า คนไทยทุกคนมีเสรีภาพที่จะทำหนังอะไรก็ได้โดยเสรี..... เพราะในบทแรก เริ่มของกฎหมาย ที่ มาตรา ๔ ก็มีเพียงแค่ นิยามของคำว่า "ภาพยนตร์", คำว่า "วีดิทัศน์", คำว่า "ภาพยนตร์ไทย", คำว่า "สร้างภาพยนตร์", คำว่า "ฉาย"แล้ว กฎหมายก็ไม่ได้เขียนอะไรถึง หนังอีก .....จนกระทั่งถึงมาตรา ๒๓จึงได้มีบทบัญญัติว่า "ผู้สร้างภาพยนตร์ ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและเกียรติภูมิของประเทศไทย"เท่านั้นเอง.....ซึ่งแตกต่างจาก เรื่องของหนังต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย ที่กฎหมายในมาตรา ๒๐ จะเขียนไว้แจ้งชัดว่า "ผู้ใดประสงค์จะสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขออนุญาต พร้อมด้วยบทภาพยนตร์ เค้าโครง และเรื่องย่อของภาพยนตร์ที่จะสร้าง ต่อสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว และต้องได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ที่จะใช้สร้างภาพยนตร์ตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง".....กฎหมายสองมาตรานี้ คือบทบัญญัติของกฎหมายหนัง ที่สรุป ได้ง่ายๆ ว่า หนังไทย คนไทยมีสิทธิ สร้างหนังอะไรหรือเมื่อไรก็ได้ทั้งนั้นทุกคนมีสิทธิ์ทำได้โดยเสรี จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ก็คือตามมาตรา ๒๓..... แต่ถ้าเป็นคนต่างประเทศ ที่จะเข้ามาถ่ายทำหนังในเมืองไทย ต้องยื่นคำขออนุญาตและต้องได้รับอนุญาตก่อน จากนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัด ของมาตรา ๒๓ ด้วยเช่นเดียวกัน.....นอกจากนั้นแล้ว ในวรรคสองของ มาตรา ๒๓ กฎหมายหนังฉบับนี้ ยังมีบทบัญญัติไว้อีกว่า "ผู้สร้างภาพยนตร์ผู้ใด สงสัยว่าการสร้างภาพยนตร์ของตนจะเป็นการฝ่าฝืน บทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง" หรือเปล่า? ยังมีสิทธิ์ที่จะขอความเห็นจาก คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ก่อนที่จะดำเนินการสร้าง ได้ด้วย.....การเปิดโอกาสให้ขอความเห็นนี้ สามารถจะทำได้ทั้งหนังไทยและหนังต่างประเทศที่จะเข้ามาถ่าย ทำในประเทศไทย แต่เท่าที่กฎหมายนี้ ใช้งานมา ๗ ปี "กาน แอนด์ โก" พยายามมสอบถามผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องว่ามีการใช้กฎหมายมาตรานี้กันบ้างไหม? คำตอบที่ได้รับก็คือ "โน" ไม่ว่าจะเป็น ทั้งหนังไทยหรือหนังต่างประเทศ ยังไม่เคยมีใครมาใช้บริการตามมาตรานี้เลย.....ปัญหาแห่ง การไม่รู้ ของสาธารณชนที่ควรจะมีความรู้ จากสิ่งที่ควรรู้เหล่านี้ คือเจตนาที่คอลัมน์นี้จะได้พูดถึงเรื่องหนังใน สังคมไทยต่อไปอีก ผู้สนใจก็ขอเชิญ ติดตามกันได้ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก  : 
http://www.ryt9.com/s/nnd/2313300

ตร.รวบ 2 หนุ่มไทย ขับเก๋งลอบขนใบกระท่อม 30 กิโล คาจุดตรวจพัทลุง
10/05/2559
ปปง. แถลงเตรียมใช้ระบบตรวจจับฟอกเงินที่ผิดก.ม.
18/01/2559
ภาษีมรดก เริ่ม 1 ก.พ.นี้ รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี
15/01/2559
03/03/2566 -
เงินมัดจำ สำคัญเพียงใด ?
09/04/2561 -
เมื่อคดีจากศาลไปสู่สภา
07/04/2561 -
ขึ้นศาลด้วย BOQ by ทค.สิรภพ โชติยาธนากูล
12/03/2561 -
เรื่องเล่าจากศาล ตอน "กับดักทางความคิด"
05/03/2561 -
เขียนเรื่องลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่าย !
05/03/2561 -
การเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
05/03/2561 -
ความรู้ก่อนขึ้นศาล ในคดีหมิ่นประมาท